เนื่องจากหลายประเทศทั่วโลกก้าวเข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุ (aging society) ที่ประชากรส่วนมากเป็นกลุ่มวัยทำงานและวัยหลังเกษียณ ทำให้แต่ละประเทศต้องมีการเตรียมความพร้อมและนโนบายที่ทันสมัยต่อการพัฒนาระบบประกันการดูแลระยะยาวเพื่อรองรับความต้องการของผู้สูงอายุ เช่น ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่มีการแบ่งระบบการดูแลผู้สูงอายุอย่างชัดเจนทั้งในส่วนระบบประกันสุขภาพโดยรัฐบาลกลางและระบบ
การดูแลทางด้านสังคมโดยรัฐบาลท้องถิ่น สำหรับอีกหนึ่งประเทศในเอเชียที่ให้ความสำคัญกับเรื่องระบบประกันสุขภาพของผู้สูงอายุคือประเทศญี่ปุ่น ที่ได้แยกระบบประกันการดูแลระยะยาวออกจากระบบประกันสุขภาพทั่วไปอย่างชัดเจน
สำหรับการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทยนั้นส่วนมากยังอยู่ในความรับผิดชอบของครอบครัวลูกหลานผู้สูงอายุเป็นหลัก ร่วมกับการได้รับการสนับสนุนการเข้ารับการรักษาพยาบาลและการดูแลสวัสดิการอื่นๆจากหน่วยงานภาครัฐส่วนท้องถิ่น เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และองค์กรอื่นๆที่สนับสนุนบริการทางด้านสังคม นอกจากนี้ยังมีโครงการ “ระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง”ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่รัฐบาลได้จัดตั้งขึ้นในปี 2559 โดยเน้นการให้บริการแก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนเป็นหลัก
วันนี้น้องเอลเดอร์จึงขอนำเสนอรายงานวิจัยจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระยะยาว เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนทางการเงิน การเลือกซื้อประกันสุขภาพและการรับบริการสุขภาพที่เหมาะสมกันนะครับ
สำหรับผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิงและได้รับการดูแล แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ ผู้สูงอายุในกลุ่มติดบ้าน และ ผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง
1. ผู้สูงอายุในกลุ่มติดบ้าน หมายถึง ผู้สูงอายุที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้างในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ผู้ที่สามารถเคลื่อนไหวได้บ้าง แต่มีปัญหาด้านการรับประทานและการขับถ่าย ผู้สูงอายุในกลุ่มนี้จึงต้องการความช่วยเหลือจากผู้ดูแลและบุคคลากรทางการแพทย์ในบางครั้ง
2. ผู้สูงอายุในกลุ่มติดเตียง หมายถึง ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ ซึ่งรวมถึงกลุ่มที่เจ็บป่วยรุนแรงหรืออยู่ในระยะท้ายของชีวิต ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการได้รับการช่วยเหลือและดูแลอย่างใกล้ชิด
ค่าใช้จ่ายในการดูแลระยะยาวที่บ้าน
ค่าใช้จ่าย (ต่อเดือน) | ผู้สูงอายุในกลุ่มติดบ้าน | ผู้สูงอายุในกลุ่มติดเตียง |
1. ค่าอุปกรณ์และวัสดุสิ้นเปลืองเช่น ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ เข็มฉีดยาและกระบอกฉีดยา เป็นต้น | 2,767 บาท | 3,829 บาท |
2. ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร เช่นผู้ช่วยเหลือการทำกิจกรรมขั้นพื้นฐานในการใช้ชีวิตประจำวันและงานบ้าน รวมถึงบุคคลากรทางการแพทย์ เช่น พยาบาลวิชาชีพที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงอายุ | 3,750 บาท | 15,000 บาท |
3. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปให้บริการแก่ผู้สูงอายุที่บ้าน สำหรับผู้จัดการการดูแลหรือทีมผู้ดูแลเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ | 3,150 บาท | 300 บาท |
รวม | 9,667 บาท | 19,129 บาท |
นอกจากนี้การศึกษาของ TDRI ยังพบว่าค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระยะยาว มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต ตั้งแต่ พ.ศ. 2560-2590 ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งพบว่าค่าใช้จ่ายรวมในการดูแลผู้สูงอายุของประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่า จาก 6 หมื่นล้านบาทในปี พ.ศ. 2560 เป็น 3.4 แสนล้านบาทในปี พ.ศ. 2590 และแม้ว่าจะมีจำนวนผู้สูงอายุในกลุ่มติดบ้านมากกว่ากลุ่มติดเตียง แต่จะเห็นได้ว่าค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงนั้นสูงเป็น 2 เท่าของค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ดังนั้นการวางแผนทำประกันชีวิตและการจัดการการเงินผู้สูงอายุเองและผู้ดูแล จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการบริหารเงินในอนาคต
ค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลของผู้ป่วยระยะท้าย
ผู้ป่วยระยะสุดท้าย หมายถึง ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่า สภาพการป่วยไข้ เป็นระยะลุกลาม เรื้อรัง หรือเข้าสู่ระยะท้ายๆ ของโรค ซึ่งไม่มีวันรักษาให้หายได้ โดยมากจะมีชีวิตอยู่น้อยกว่า 1 ปี โดยพบว่าโรคมะเร็งและเนื้องอก เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในผู้สูงอายุ ซึ่งโรคดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตและยังนำมาซึ่งความเจ็บปวดอย่างเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในประเทศไทยเป็นบริการที่จำกัดในสถานพยาบาลเท่านั้น เนื่องจากต้องพึ่งพาเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูงเพื่อพยุงชีวิต จากการศึกษาของ TDRI พบว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการรักษาพยาบาลในสถาน
พยาบาลภายใน 1 เดือนก่อนเสียชีวิตมีค่าประมาณ 45,000 บาทต่อราย โดยผู้เสียชีวิตที่อายุน้อยจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ากลุ่มที่อายุมากกว่า เช่น ค่าใช้จ่ายในช่วง 1 เดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิตของกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี มีค่าสูงกว่าช่วงอายุอื่นๆ ประมาณ 10,000 บาท สำหรับกลุ่มประชากรอายุ80 ปีขึ้นไปมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่ำสุดอยู่ที่ 42,000 บาท
นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่ใช้สวัสดิการรักษาพยาบาลถ้วนหน้ามีค่ารักษาพยาบาล 44,974 บาทใน 30 วันสุดท้ายก่อนเสียชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่าหัตถการและยา ในขณะที่ผู้ป่วยที่เสียชีวิตที่บ้านจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 26,372 บาทใน 30 วันสุดท้ายก่อนเสียชีวิต ซึ่งเป็นค่าอุปกรณ์ วัสดุสิ้นเปลืองและค่าเดินทางของผู้ดูแล แม้ว่าประเทศไทยจะยังไม่มีระบบการให้บริการดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน ซึ่งสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูแลได้เป็นจำนวนมาก แต่ในปัจจุบันก็ได้มีการสนับสนุนให้ภาครัฐให้ความสำคัญกับการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้านมากขึ้น สนับสนุนให้การดูแลแบบประคับประคองรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบประกันการดูแลระยะยาว เพื่อให้ผู้ป่วยมีทางเลือกในการได้ใช้เวลาระยะสุดท้ายที่บ้าน ซึ่งจะช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น โดยที่ยังได้รับการดูแลรักษาในคุณภาพที่ทัดเทียมกับสถานพยาบาล
บริษัทเอกชนที่ให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน
อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการดูแลผู้ป่วยระยะยาวคือการใช้บริการของบริษัทเอกชนที่ให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบและค่าบริการที่แตกต่างกันไป เช่น
1. บริษัท เฮลท์ แอท โฮม จํากัด
ที่มาของรูป : (https://www.carecenter.healthathome.in.th/blank-1)
ที่มาของรูป : (https://www.carecenter.healthathome.in.th/blank-1)
ที่มาของรูป : (https://www.carecenter.healthathome.in.th/blank-1)
บริการ: บริษัท เฮลท์ แอท โฮม ก่อตั้งโดยนพ. คณพล ภูมิรัตนประพิณ อายุรแพทย์ด้านผู้สูงอายุจากโรงพยาบาล Mount Sinai ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีแคร์โปรในระบบกว่า 400 คน มีทีมพยาบาลฝึกสอนและทดสอบทักษะแคร์โปร พร้อมระบบเทคโนโลยีที่ช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อให้การดูแลที่บ้านมีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงสุด ดูแลทุกรูปแบบทั้งคนไข้เดินได้ หรือติดเตียง รวมถึงผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังต่างๆ มีทั้งรูปแบบการเดินทาง ไป-กลับ และ พักกับคนไข้ทั้งที่บ้านและโรงพยาบาล
ที่ตั้ง: ชั้น 24 จัสท์โค สามย่าน มิตรทาวน์ ออฟฟิศ ทาวเวอร์ 944 ถ.พระราม 4 วังใหม่ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
Website: https://healthathome.in.th/
โทรศัพท์: 02-080-3936
2. บ้านลลิสา
ที่มาของรูป : (https://baanlalisa.com/nursing-home-chiang-mai-thailand/)
ที่มาของรูป : (https://baanlalisa.com/san-sai-th/)
ที่มาของรูป : (https://baanlalisa.com/san-sai-th/)
บริการ: มุ่งเน้นการรักษาที่คำนึงถึงอาการและสภาวะการเจ็บป่วยของผู้ป่วยรายบุคคลโดยแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญร่วมกันออกแบบการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล รวมทั้งวางแผนก่อนการดูแลร่วมกับครอบครัวของผู้ป่วย โดยมีทีมพยาบาลและบุคลากรที่ตรวจเช็คและรายงานผลรายสัปดาห์
บริการดูแลทั้งคนไข้เดินได้ต้องพยุง คนไข้ติดเตียง คนไข้หลังผ่าตัด คนไข้มะเร็ง และ ผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ที่ตั้ง: 125 ตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50100 บ้านลลิสามี 7 สาขาทั่วภาคเหนือ ได้แก่ สาขาเชียงใหม่ โดยเครือสาขาสันทรายและสาขาป่าแดด สาขาต่างจังหวัดได้แก่ สาขาลำปาง สาขาเชียงราย สาขาพิษณุโลก สาขากำแพงเพชรและสาขาโคราช
Website: https://baanlalisa.com/home-care-services/
3. FAMS แอปพลิเคชันที่ใช้ระบบในการจัดหาคนดูแลผู้ป่วยตามบ้าน
ที่มาของรูป : (https://www.fams.co.th/)

ที่มาของรูป : (https://www.fams.co.th/)
ที่มาของรูป : (https://www.fams.co.th/)
บริการ: เข้าถึงข้อมูลการให้บริการได้สะดวกผ่านแอพพลิเคชัน ที่สามารถกำหนดคุณสมบัติคนดูแลที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นคนดูแลผู้สูงอายุทั่วไป คนดูแลผู้ป่วยติดเตียง หรืออาการป่วยต่างๆ หรือคนดูแลหรือพยาบาลเฝ้าไข้ ทั้งที่บ้านและโรงพยาบาล ระบบจะส่งงานไปยังคนดูแลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม และสามารถโทรคุยสัมภาษณ์ในรายละเอียด ก่อนยืนยันการจ้างงานได้
Website: https://www.fams.co.th/howto.html
อ้างอิง
https://tdri.or.th/wp-content/uploads/2018/07/wb138.p
http://eh.anamai.moph.go.th/download/Manual/Long%20Term%20Care.pdf
https://www.chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/document/200417158709406445.pdf