เชื่อว่าผู้สูงวัยที่ป่วยเป็นโรคหัวใจต้องเคยได้ยินข้อมูลการผ่าตัดบายพาสหัวใจกันมาบ้างแน่ ๆ บางคนก็เคยผ่าตัดมาแล้ว หรือบางคนอาจกำลังมีแพลนต้องผ่าตัด ซึ่งการผ่านตัดทำบายพาสหัวใจเป็นวิธีการรักษาโรคหัวใจขาดเลือดที่เกิดจากเส้นเลือดหัวใจตีบตัน โดยแพทย์จะทำการต่อเส้นเลือดใหม่แทนที่อันเดิมที่ตีบเพื่อให้เลือดสามารถไหลเข้าไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ แน่นอนครับว่าเป็นการผ่าตัดใหญ่ที่ต้องอาศัยการดูแลอย่างใกล้ชิดกันตั้งแต่ก่อนผ่าตัด ขณะรับการผ่าตัด และหลังการผ่าตัด ซึ่งวันนี้เอลเดอร์จะมาเน้นให้ข้อมูลที่การดูแลหลังผ่าตัดกันครับ ไว้สำหรับเป็นแนวทางสำหรับผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดได้เอาไปเป็นแนวทางฟื้นฟูร่ากายตัวเองเพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวและกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ

ฝึกหายใจถูกวิธี (Breathing exercises)

เริ่มกันที่ฝึกหายใจก่อนเลยครับ เพราะการให้ใจอย่างถูกวิธีจะช่วยลดการแทรกซ้อนหลังผ่าตัด และยังช่วยเพิ่มการหยืดหยุ่นของผนังทรวจอกไม่ให้เป็นพังผืด แถมยังเป็นการบริหารกล้ามเนื้อทรวงอกให้แข็งแรงขึ้นด้วยครับ ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติ ดังนี้

  • นั่งหลังตรง หรืออาจจะนอนท่านอนศีรษะสูง แต่ควรงอเข่าสองข้างเล็กน้อยเพื่อให้หลังตั้งตรง
  • ใช้มือทั้งสองข้างจับที่หน้าท้อง
  • สูดหายใจเข้าทางจมูกช้า ๆ จนสัมผัสได้ว่าท้องป่องขึ้น
  • ผ่อนลมหายใจออกทางปากช้า ๆ ให้หน้าท้องแฟบลง

แนะนำให้ทำบ่อย ๆ ครับ ครั้งละ 5 – 10 ครั้ง ทำทุกชั่วโมงได้ยิ่งดีครับ ส่วนใครที่กลัวว่าจะเจ็บตึงแผลหรือกลัวว่าแผลจะปริแนะนำให้ใช้มือกอดหมอนให้แนบสนิทกับอกเพื่อลดแรงงดันขณะฝึกหายใจ

ฝึกไอให้ถูกวิธี  (Coughing training)

แน่นอนครับว่าการผ่าตัดทรวงอกย่อมส่งผลต่อการไอ เรียกได้ว่าไอทีไรต้องอกสั่นระบบแผลกันทุกที เราจึงจำเป็นจะต้องฝึกวิธีการไอเพื่อลดแรงกระเพื่อมและยังช่วยขับเสมหะออกมาจากหลอดลม เราจะได้ไม่ระคายคอและต้องไอบ่อย ๆ ยังไงล่ะครับ

  • นั่งหลังตรงหรือนอนยกศีรษะสูงเช่นเดียวกับการฝึกหายใจ
  • กอดหมอนให้แนบสนิทกับอกบริเวณรอยแผลผ่าตัดเพื่อลดแรงดันและการกระเพื่อมขณะไอ
  • สูดลมหายใจเข้าช้า ๆ ทางจมูกให้ลึกที่สุด แล้วค่อย ๆ ผ่อนลมหายใจออกทางปาก ทำวนสักประมาณ 3 ครั้ง
  • หายใจเข้าปอดทางจมูกให้ลึก กลั้นไว้ 2 – 3 วินาที แล้วไอออกมาทันที โดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องออกแรงซับพอร์ต แล้วค่อยกลับมาหายใจเข้าออกตามปกติ

การออกกำลังกาย

  • ในช่วงสัปดาห์แรกผู้ป่วยที่ผ่าตัดหัวใจไม่ควรออกกำลังกาย เพราะจะทำให้หัวใจทำงานหนักเกินไป แนะนำให้ทำกายบริหารเบา ๆ เช่น สะบัดแขน สะบัดข้อมือ เหยียดงอข้อศอก เข่า กระดกข้อมือข้อเท้า ทำเช้าเย็น วันละ 10 ครั้ง 
  • สัปดาห์ที่ 2-3 ยังคงทำกายบริหารแบบเดิม และเพิ่มด้วยการเดินช้า ๆ บนทางราบ 15 นาที วันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น
  • สัปดาห์ที่ 4 ทำกายบริหาร เพิ่มการเดินเป็น 20 – 25 นาที วันละ 1-2 รอบ สามารถเดินออกไปรอบบ้านได้ และสามารถเดินขึ้นบันไดแต่ไม่ควรรีบร้อน ควรหยุดพักระหว่างขั้น
  • เดือนที่ 2 หลังผ่าตัด เดินออกกำลังกายได้วันละ 30 นาที เริ่มยกของหนักได้ไม่เกิน 4 กิโลกรัม สามารถยกเวทเบา ๆ ได้ จนเข้าสู่เดือนที่ 3 จึงจะกลับไปทำกิจกรรมอื่น ๆ ตามปกติได้

โภชนาการหลังผ่าตัด

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เพื่อไม่สร้างความเสี่ยงให้ไขมันอุดตันเส้นเลือดอีก ให้เน้นรับประทานไขมันกลุ่มไม่อิ่มตัวในปริมาณที่เพียงพอ เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก และธัญพืชต่าง ๆ เป็นต้น งดเว้นไขมันจากสัตว์และผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันทรานส์
  • เน้นรับประทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันเน้นปลา อกไก่ หมูเนื้อแดง ไข่ไม่เกิน 3 ฟองต่อสัปดาห์  โปรตีนจากพืชอย่างเต้าหู้และผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง 
  • เน้นปรุงอาหารด้วยวิธีการต้ม นึ่ง ย่าง แทนการผัดและทอด
  • ดื่มนมพร่องมันเนยที่มีไขมันน้อย
  • งดรับประทานอาหารแปรรูปทุกชนิด รวมไปถึงอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง ควบคุมปริมาณเกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรสในอาหารไม่ให้เค็มจัดเกินไป
  • งดเว้นจากการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมไปถึงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอย่างชา กาแฟ และน้ำอัดลม เพราะอาจทำให้ใจสั่นได้
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ รับประทานผักและผลไม้ที่มีกากใยสูง เพราะกากใยจะช่วยลดการดูดซึมไขมัน ลดโอกาสการอุดตันของไขมันในเส้นเลือด

ข้อควรระวัง

  • ในระยะแรกหลังผ่าตัดไม่ควรเดินขึ้นบันไดหรือพื้นที่เนินเพราะอาจทำให้หัวใจทำงานหนัก
  • ห้ามยกของหนักเกินกว่า 4 กิโลกรัมในช่วง 2 เดือนแรกหลังผ่าตัดเด็ดขาด
  • ไม่ควรขับรถเอง สามารถกลับไปขับรถได้หลังผ่าตัดแล้ว 3 เดือน
  • งดเว้นจากการออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงหรือมีการกระโดดในช่วง 3 เดือนแรก เช่น ว่ายน้ำ เทนนิส ฟุตบอล แบตมินตัน ฯลฯ

ไม่ยากเลยใช่ไหมครับกับการปฏิบัติตัวฟื้นฟูตัวเองหลังผ่าตัดหัวใจ วิธีที่เอลเดอร์นำมานี้ไม่เพียงแต่ใช้ฟื้นฟูเฉพาะแค่การผ่าตัดบายพาสเท่านั้นนะครับ แต่สามารถใช้กับการผ่าตัดหัวใจอื่น ๆ ได้เช่นกันครับทั้งการสวนหัวใจ การเปลี่ยนลิ้วหัวใจ รวมไปถึงการทำบอลลูนหัวใจ เพื่อเป็นการดูแลร่างกายหลังผ่าตัดให้ฟื้นคืนเป็นปกติโดยไวและยังเป็นการช่วยลดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ หลังผ่าตัดลงได้อีกด้วยครับ

ที่มา

บทความอื่นๆ

ปัญหาท้องอืด เอลเดอร์เชื่อว่าหลายๆคนประสบปัญหาเหล่านี้อยู่เป็นประจำ ดังนั้นสูงวัยมาทำความเข้าใจถึงต้นเหตุของปัญหาท้องอืด และมาร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารกันครับ
ภาวะเลือดเป็นกรดในผู้สูงอายุ เอลเดอร์เชื่อว่าหลายท่านคงยังไม่ค่อยคุ้นหูเท่าไหร่ แต่โรคนี้เป็นโรคอันตรายใกล้ตัวอย่างมากที่ผู้สูงอายุไม่ควรละเลย
error: Content is protected !!
Scroll to Top