สูงวัยทราบหรือไม่ว่า “การสำลักอาหารหรือน้ำ” เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ หรือทำให้ผู้สูงวัยจากการป่วยปกติ นำไปสู่ภาวะติดเตียงได้เช่นเดียวกัน แม้ว่าจะเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ หรือเพียงพริบตา หากเกิดขึ้นการสําลักอาหารขึ้น ย่อมไม่ส่งผลดีต่อผู้สูงวัยอย่างแน่นอน เอลเดอร์จึงอยากชวนสูงวัยทุกท่านมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการสำหรับอาหาร และวิธีการป้องกันเบื้องต้นที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง
การสำลักในผู้สูงอายุ
เมื่ออายุมากขึ้น ส่วนต่าง ๆ ของระบบภายในร่างกายของผู้สูงวัยย่อมมีการทำงานลดลง หรือเสื่อมลง การทำงานของระบบการกลืนอาหาร การทำงานของช่องปาก กลไกของระบบประสาทที่ควบคุมการกลืนก็เป็นส่วนสำคัญที่มีการทำงานลดลงเช่นกัน
เมื่อระบบอวัยวะต่าง ๆ เสื่อมลง อาจจะทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น “เกิดการสำลัก” ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ รวมถึงการมีเสมหะ เศษอาหาร หรือฟันปลอมที่ชำรุดไปอุดกั้นทางเดินหายใจ
การสำลัก เสี่ยงต่อชีวิตของผู้สูงวัย
แม้ว่าจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงในชั่วพริบตา หรือภายในระยะเวลาสั้น ๆ แต่การสำลักอาหาร หรือน้ำ ก็เสี่ยงต่อการเสียงชีวิตได้ เนื่องจากผู้สูงวัย เป็นวัยที่ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานช้าลง ระบบภูมิคุ้มกันเริ่มไม่แข็งแรงเหมือนเดิมหากเกิดการสำลักอาหารเข้าไปในปอด หากทิ้งไว้นาน จะทำให้ขาดอากาศหายใจและเสียชีวิตได้ และอาจส่งผลทำให้ปอดติดเชื้อ หรือผู้สูงอายุบางรายสำลักมาก ๆ อาจเกิดความกลัวการกลืนอาหาร ทำให้ทานอาหารได้น้อยลง หรือกลัวที่จะกินอาหาร ส่งผลต่อปัญหาภาวะขาดสารอาหาร
สาเหตุของเกิดการสำลัก
สาเหตุของการสำลักอาหารและน้ำในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่มาจากการทานอาหาร การกลืนที่ผิดจังหวะ ซึ่งอาจจะเกิดระหว่างที่มีการพูดคุย หัวเราะ ฟันปลอมหลุดขณะทานอาหาร ดังนี้
- รับทานอาหาร และพูดในเวลาเดียวกัน
- ฟันปลอมหลุด หรือหากเกิดในเด็กเล็กก็มักมาจากการรับประทานอาหารและวิ่งเล่นในเวลาเดียวกัน
- ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการกลืน โรคบางชนิดที่มีปัญหาเรื่องการควบคุมกล้ามเนื้อ การสั่งการของสมองในระหว่างการเคี้ยว หรือการกลืน เช่น พาร์กินสัน อัมพฤกษ์ อัมพาต และสมองเสื่อม ก็เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการสำลัก จึงควรพบแพทย์เพื่อรักษาและศึกษาแนวทางการป้องกันอย่างใกล้ชิด
อาการเบื้องต้นเมื่อกำลังเกิดการสำลัก
หากพบผู้สูงวัยเกิดอาการดังต่อไปนี้ ลูกหลาน หรือผู้ดูแลควรรีบสังเกตอาหารและเข้าช่วยเหลือ หรือเรียกรถฉุกเฉินทันที นอกจากนี้ขณะที่ผู้สูงวัยกำลังทานอาหาร ควรมีการสังเกตอาการควบคู่ไปด้วย เนื่องจากการสำลัก สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ
- ผู้สูงอายุชี้ที่คอ หรือเอามือกุมคอ
- พูดไม่ออก
- หายใจลำบาก หรือหายใจมีเสียงดัง
- ไอไม่มีเสียง และขย้อน
- ผิวหน้าซีดเขียว
- อาจชัก หรือหมดสติ ถ้าขาดอากาศนาน เนื่องจากอาหารอาจเข้าไปในปอด หากปล่อยไว้เป็นเวลานาน ทำให้ขาดอากาศหายใจและเสียชีวิตได้
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้สูงวัยที่เกิดอาการสำลัก
เมื่อผู้สูงวัยเกิดอาการสำลักขณะทานอาหาร หรือน้ำ สารมารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง หรือหาผู้ใกล้ชิดมาช่วยในการปฐมพยาบาล ด้วยการหยุดรับประทานอาหารทันที และให้ผู้สูงวัยไอก่อน เพื่อขับสิ่งของแปลกปลอมออกมา แต่ถ้าไอแล้วไม่ออกนั้นให้ใช้ “วิธีดันกะบังลม” 5 ครั้ง หรือทำไปเรื่อย ๆ จนกว่าเศษอาหารจะหลุดออกมา ด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้

- ให้ผู้ที่มีอาการสำลักอาหารยืนขึ้น เราเข้าไปทางด้านหลัง
- สอดเท้าวางอยู่ตรงกลางด้านหลังระหว่างเท้าทั้งสองข้างของผู้ป่วย เท้าอีกข้างหนึ่งวางตามหลังคอยส่งแรงตาม
- กางนิ้วก้อยและนิ้วโป้งออกมาให้มืออยู่ในรูปร่างลักษณะคล้าย “เขาควาย” กำมือปลายนิ้วก้อยวางไว้บริเวณสะดือ ปลายนิ้วโป้งวางอยู่ใต้ราวนม หรือใต้ลิ้นปี่ หดนิ้วเข้า หันด้านหน้าเล็บของนิ้วโป้งเข้าหาตัว เอามืออีกข้างมากุม แล้วส่งแรงกดกระทุ้ง ดึง และดันลำตัวขึ้น
การป้องกันการสำลักอาหารสำหรับผู้สูงวัย
เอลเดอร์ได้นำ 7 วิธีการป้องกันการสำลักอาหารสำหรับผู้สูงวัยมาฝากทุกท่าน เพื่อนำไปเป็นแนวทางขณะที่ทานอาหาร รวมถึงสำหรับผู้ดูแล ลูกหลานที่ดูแลผู้สูงวัย เพื่อความปลอดภัย และการป้องกันเพราะการสำลักเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต
1. นั่งตัวตรงขณะกินอาหาร ช่วยป้องกันการสำลักเนื่องจากทำให้ผู้สูงวัยกินอาหารได้ง่ายมากขึ้น และอาหารไหลลงกระเพาะได้เร็วขึ้น
2. ไม่ควรนอนทันทีหลังกินอาหาร เพราะอาหารที่ค้างอยู่ในคอหอยจะทำให้ผู้สูงวัยสำลักและเป็นกรดไหลย้อน
3. กินอาหารให้ช้าลงและเคี้ยวอาหารให้ละเอียดที่สุด
4. ไม่กินอาหารตอนเหนื่อย ควรนั่งพักก่อนกินอาหาร 30 นาทีเพื่อป้องกันการสำลักอาหาร
5. กินอาหารให้พอดีคำ ควรตักทีละอย่าง และกินทีละคำ
6. กินอาหารเนื้อนุ่ม เคี้ยวง่าย หรืออาหารประเภทอ่อน และควรเลี่ยงอาหารรสจัด
7. ไม่ควรดูทีวี ฟังวิทยุ หรือพูดคุยกันขณะกินอาหาร เพราะอาจจะทำให้ผู้สูงวัยเกิดการสำลักอาหารโดยไม่รู้ตัวจากการพูดคุย หรือการหัวเราะ
ปัญหาเล็กใกล้ตัวที่คนมักมองข้าม แต่ส่งผลใหญ่ถึงชีวิต เอลเดอร์หวังว่าความรู้และแนวทางการป้องกันที่นำมาฝากผู้สูงวัยทุกท่าน จะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับทุกท่าน การป้องกันที่ดีที่สุด คือ ความรู้และความเข้าใจในการดูแลตนเอง และสามารถที่จะปฐมพยาบาลตนเองและผู้อื่นได้ในเบื้องต้น
เอกสารอ้างอิง
1. https://bit.ly/3wPpsPK
2. https://bit.ly/371ZxcE
3. https://bit.ly/3IQAmXN
4. https://bit.ly/3qPODhn
5. https://bit.ly/3wQ81yx