ปัญหาหัวใจไม่ว่ายังไงก็เป็นเรื่องใหญ่เสมอ วันนี้เอลเดอร์จะมาพูดถึงปัญหาหัวใจของคนวัยเก๋ากัน แต่อย่าเพิ่งเข้าใจผิดเข้าใจผิดกันไปนะครับว่าเป็นปัญหาหัวใจแบบที่วัยรุ่นเขาฮิตไปปรึกษาพี่อ้อยพี่ฉอดกัน ไม่ใช่เลยครับปัญหาหัวใจที่เอลเดอร์จะชวนคุยในวันนี้ก็คือปัญหาหัวใจเสื่อมสภาพจากเส้นเลือดตีบตันหรือที่เรามักคุ้นกันในชื่อ “หัวใจขาดเลือด” ซึ่งมักเกิดแบบฉับพลันในกลุ่มผู้สูงอายุ สถิติจากกระทรวงสาธารณสุขพบว่าคนไทยเสียชีวิตจากโรคหัวใจปีละ 37,000 ราย เฉลียชั่วโมงละ 2 คน ซึ่งถือว่าสูงมากเลยครับ เอลเดอร์เลยอยากจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้นว่าถ้าเรามีความเสี่ยงแล้วจะมีวิธีการดูแลรักษาอย่างไรได้บ้างกันครับ โดยเฉพาะการทำบายพาสหัวใจที่หลายคนได้ยินแล้วอาจจะกังวล วันนี้เราเลยจะไปทำความรู้จักให้มากขึ้นกันดีกว่าครับ

อาการของโรคหัวใจขาดเลือด
โรคหัวใจขาดเลือดเกิดจากภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ( Coronary artery disease : CAD ) จนเลือดมาสามารถเข้าไปหล่อเลี้ยงเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจได้ ทำให้หัวใจตายและหยุดการทำงานลงไปในที่สุด อาการที่มักพบในเบื้องต้นจะพบเจ็บหน้าอกร้าวงไปถึงไหล่และแขนข้างซ้าย ซึ่งจะมีอาการรุนแรงขึ้นเมื่อต้องออกแรง หากได้พักก็จะทุเลาลง หนักเข้าอาจจะทำให้เกิดอาการกระสับกระส่าย แน่นหน้าอกรุนแรง เหงื่ออกทั้งตัว เนื้อตัวเย็น จนถึงที่สุดแล้วหัวใจจะหยุดเต้นแล้วเสียชีวิตลงได้
สาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือด
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการเส้นเลือดหัวใจตีบก็เพราะว่ามีอะไรไปอุดตัน หลัก ๆ เลยก็คือไขมันในเลือด ดังนั้นผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงไม่ว่าจะเป็นคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไรด์ รวมไปถึงไขมันเลวชนิด LDL สูง จะถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดการอุดตันของไขมันในหลอดเลือด ทำให้เกิดหลอดเลือดตีบตันได้

นอกจากไขมันแล้วไขมันแล้วหินปูนจากแคลเซียมก็สามารถเกาะกับผนังหลอดเลือดจนทำให้อุดตันได้ พบมากในผู้ป่วยที่เป็นโรคความตันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคไต เพราะหลอดเลือดจะแข็งเปราะและภายในหลอดเลือดจะพอกตัวหนาขึ้นทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี ซึ่งนานเข้าอาจทำให้เกิดการตีบอย่างถาวรได้
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้โรคหัวใจขาดเลือด
- อายุ เพศชายอายุ 45 ปีขึ้นไป และเพศหญิงอายุ 50 ปี ขึ้นไป
- กรรมพันธุ์ ประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
- สูบบุหรี่
- ขาดการออกกำลังกาย
- ภาวะอ้วนน้ำหนักเกิน
- ไขมันในเลือดสูง
- ความดันโลหิตสูง
- โรคเบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง
- ความเครียด
วิธีการรักษาโรคหัวใจขาดเลือดจากภาวะหลอดเลือดตีบ
วิธีการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบมีอยู่หลายวิธีตามระดับความรุนแรงของการอุดตันมีตั้งแต่การใช้ยาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อไม่เพิ่มความเสี่ยงให้หลอดเลือดเกิดการอุดตันเพิ่ม เช่น การควบคุมอาหาร การควบคุมโรคประจำตัวพวกเบาหวาน ความดัน ไขมัน ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อไม่ไปกลายเป็นปัจจัยกระตุ้นให้หลอดเลือดหัวใจตีบตันและทำงานหนัก แต่ถ้ารุนแรงมากอาจจะต้องไปรับการผ่าตัด
บายพาสหัวใจทางเลือกในการรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบ

การทำบายพาสหัวใจ (Coronary Artery Bypass Grafting) เป็นการสร้างเส้นเลือดขึ้นมาใหม่แทนเส้นเลือดเก่าที่ตีบไป ต่างจากการทำบอลลูนหัวใจที่เพียงแค่ขยายเส้นเลือด แต่การทำบายพาสจะใช้หลอดเลือดจากบริเวณอื่น ๆ ในร่างกายไม่วาจะเป็นจากปลายแขน ใต้กระดูกอก หรือเส้นเลือดดำจากขามาต่อกับหลอดเลือดหัวใจในบริเวณที่ตีบตันแล้วต่อเข้ากับกล้ามเนื้อหัวใจอีกที เพื่อให้เส้นเลือดใหม่นี้ทำหน้าที่แทนอันเดิมที่ตีบ
ใครบ้างที่ต้องทำบายพาสหัวใจ
- ผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา
- หลอดเลือดหัวใจตีบหลายเส้น
- มีโรคหัวใจอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น หัวใจรั้ว ลิ้นหัวใจตีบ
- เคยทำบอลลูนหัวใจแล้วไม่ได้ผล

วิธีเตรียมตัวก่อนผ่าตัดบายพาสหัวใจ
การผ่าตัดหัวใจถือว่าเป็นการ่าตัดใหญ่ ผู้ป่วยที่จะเข้ารับการรักษาจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมอย่างเคร่งครัด ดังนี้
- หยุดกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดความวิตก อาการตื่นเต้น และความเครียด
- ควบคุมอาหารเพื่อให้ผลเลือดออกมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ถ้ามียาประจำตัวต้องปรึกษาแพทย์ก่อนว่าควรรับประทานต่อหรือควรหยุด เพราะยาบางชนิดอาจมีผลกับกล้ามเนื้อหัวใจ
การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด
หลังผ่าตัดคนไข้จะได้รับการดูแลในห้องผู้ป่วยโรคหัวใจ (CCU: Cardiac Care Unit) โดยจะมีท่อช่วยหายใจ เมื่ออาการฝื้นตัวดีแล้วก็จะนำเครื่องช่วยหายใจออก ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3 -5 วัน จากนั้นจึงจะย้ายออกไปพักห้องผู้ป่วยธรรมดาพร้อมกับการทำกายภาพบำบัด โดยรวมแล้วก็ประมาณ 1 สัปดาห์ และสามารถเริ่มกลับไปใช้ชีวิตทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้หลังจาก 3 -4 สัปดาห์ขึ้นไป ที่สำคัญควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์และมาเช็คผลตามนัดหมายทุกครั้ง

โรคหัวใจไม่ใช่โรคใหม่ที่ไกลตัวเหล่าผู้สูงอายุเลย ยิ่งผู้สูงอายุที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ และมีโรคประจำตัวอย่างโรคไต เบาหวาน ความดัน และไขมันในเลือดสูง ไม่ควรมองข้ามและควรจะใส่ใจดูแลสุขภาพตัวเองอยู่เป็นประจำ เน้นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หมั่นออกกำลังกายเบา ๆ อยู่เป็นประจำ ที่สำคัญถ้าต้องเข้ารับการผ่าตัดบายพาสหัวใจก็ไม่ต้องวิตกังวลไป ทำจิตใจให้สบาย เพื่อให้การรักษาของเราเป็นไปอย่างราบรื่นครับ
ที่มา