ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เรามักได้ยินได้ฟังข่าวเกี่ยวกับโรคซึมเศร้ากันถี่ขึ้น บวกกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการระบาดของโควิด 19 ยิ่งเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้ผู้คนเข้าสู่ภาวะซึมเศร้าได้ง่ายขึ้น คนแทบทุกเพศทุกวัยต่างประสบกับภาวะซึมเศร้าได้หมดไม่เว้นแม้แต่ผู้สูงอายุ วันนี้เอลเดอร์เลยอยากจะชวนทุกท่านไปทำความเข้าใจภาวะโรคซึมเศร้าในผู้สูงวัยกันครับว่าเกิดข้นได้ยังไง แตกต่างกับภาวะซึมเศร้าในวัยหนุ่มสาวหรือไม่ จะได้นำไปเช็คตัวเองและผู้สูงวัยในครอบครัวว่ากำลังตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าหรือไม่ ลองตามมาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันได้ในบทความนี้ครับ 

ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุต่างกับวัยอื่น ๆ อย่างไร

เอลเดอร์เชื่อว่าหลาย ๆ ท่านคงพอมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าในเบื้องต้นแล้วว่าเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับสภาวะจิตใจและสภาวะทางอารมณ์ ซึ่งไม่ได้เกิดจากปัญหาสุขภาพจิตอย่างเดียวแต่เป็นเรื่องของฮอร์โมนต่าง ๆ และสารสื่อประสาทในสมองด้วย ดังนั้น การบำบัดรักษาอาการโรคซึมเศร้าจึงไม่ใช่แค่บำบัดทางใจ หากยังต้องบำบัดทางกายด้วยยาที่จะเข้าไปปรับการทำงานของฮอร์โมนและสารสื่อประสาทต่าง ๆ ให้กลับมาทำงานเป็นปกติอีกทางหนึ่งด้วย

มาถึงตรงนี้อาจจะสงสัยกันแล้วว่าโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุนั้นแตกต่างจากโรคซึมเศร้าทั่ว ๆ ไปหรือไม่ ซึ่งจากที่เอลเดอร์ไปศึกษาข้อมูลมานั้นก็มีทั้งความเหมือนและความต่างกันครับ สิ่งที่เหมือนกันคือสภาวะทางอารมณ์ ความคิด และสภาพจิตใจที่เปลี่ยนแปลงไป รู้สึกว่าตนเองไม่มีค่า แต่สิ่งที่ต่างกันก็คือผู้สูงวัยที่อยู่ในภาวะซึมเศร้าจะไม่แสดงอาการออกมา เราจึงมักไม่ค่อยเห็นอาการโมโหร้าย หงุดหงิดง่าย หรือการทำร้ายตัวเองในผู้สูงอายุที่ซึมเศร้าแบบคนวัยอื่น

ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุคืออะไร

ภาวะซึมเศร้าหือโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ (Late-life depression) คือ โรคซึมเศร้าที่เกิดกับคนอายุ 60 ปีขึ้นไป แบ่งได้ 2 แบบ คือ โรคซึมเศร้าที่เป็นมาก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ และที่เกิดในช่วงที่เข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว พบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 10 – 20 มีภาวะของโรคซึมเศร้า และส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

สาเหตุของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

สาเหตุของการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุนั้นสามารถแบ่งได้หลัก ๆ 4 ปัจจัย ดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
เมื่ออายุมากขึ้นประสิทธิภาพการทำงานในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายย่ำแย่ลงตามวัยทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าก่อนเข้าสู่ช่วงสูงวัย เช่น การเคลื่อนไหวช้าลง สายตาแย่ลง การได้ยินแย่ลง ความสามารถในการจดจำและเรียนรู้ลดลง ฯลฯ ทำให้ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลงต้องพึ่งพาลูกหลานและคนในครอบครัว นี่แหละครับเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่ารับไม่ได้ที่สภาพร่างกายของตนเองแย่ลงไม่เหมือนตอนหนุ่มสาวและรู้สึกว่าตนเองเป็นภาระจึงทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าขึ้นมา

2. โรคภัยและความเจ็บป่วย
โรคและความเจ็บป่วยต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคซึมเศร้าได้ครับ ยิ่งเป็นโรคเรื้อรังอย่างเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจ ฯลฯ เพราะโรคเหล่านี้ต้องมีการรักษาที่ต่อเนื่องทำให้เกิดความรู้สึกว่าไม่มีทางหายสักที ต้องเสียเวลารักษาที่ยืดยาดไปโรงพยาบาลบ่อย ๆ บางทีต้องเจ็บตัวและมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามมา สิ่งเหล่านี้บั่นทอนสุขภาพจิต และยังทำให้รู้สึกว่าเป็นภาระของลูกหลานทั้งทางด้านเวลาและการเงิน 

3. ความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์และจิตใจ
แน่นอนว่าอายุมากขึ้นก็จะเข้าสู่ภาวะวัยทองที่ฮอร์โมนแปรปรวนส่งผลให้สภาวะอารมณ์และจิตใจแปรปรวนตามไปด้วย ทำให้เกิดอารมณ์น้อยใจง่าย เหงาและอ่อนไหวง่าย วิตกกังวลง่าย กลัวว่าลูกหลานจะไม่รัก สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้ง่ายขึ้น ยิ่งผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญกับความสูญเสียของคนในครอบครัว และการพลัดพรากของคู่ชีวิต ก็จะเสี่ยงที่จะเกิดภาวะซึมเศร้าได้ง่าย

4. ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม
เทคโนโลยีทำให้โลกเปลี่ยนไปเร็วมากทำหู้สูงอายุที่ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ช้าลงรู้สึกว่าตนเองก้าวไม่ทันโลก ทำให้เกิดความรู้สึกหมดคุณค่าและความสำคัญ  พูดคุยกับลูกหลานไม่รู้เรื่อง ยิ่งอายุมากขึ้นการเข้าสังคมพบปะเพื่อนฝูงยิ่งน้อยลง อีกทั้งร่างกายที่ไม่แข็งแรงเหมือนเก่าก่อนจึงทำหู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องจับเจ่าอยู่แต่ในบ้าน ทำให้ไม่ได้พบปะสังสรรค์หรือเข้าสมาคมกับเพื่อนฝูงได้แบบเดิม ทำให้ผู้สูงอายุตัดขาดออกจากโลกภายนอกจมจ่อมอยู่กับความหงอยเหงาและความคิดที่ว่าตัวเองไร้คุณค่า จนทำให้เกิดภาวะของโรคซึมเศร้าในที่สุด

ภาวะโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก เพราะไม่ได้เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งแต่อาจเกิดจากทั้ง 4 สาเหตุนี้รวมกันได้ ซึ่งการรับมือกับสาเหตุต่าง ๆ ก็มีวิธีที่แตกต่างกันไปต้องปรึกษากับจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญร่วมกับอาศัยความร่วมมือกันของสมาชิกในครอบครัวคนอื่น ๆ ที่จะช่วยทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ไม่เป็นภาระของลูกหลาน และไม่โดดเดี่ยว

อาการของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

อาการของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุจะไม่แสดงออกอย่างโจ่งแจ้งตรงไปตรงมาแบบอาการซึมเศร้าของคนวัยหนุ่มสาว คือ ไม่มีอาการหงุดหงิด ไม่มีการโวยว้ายร้องห่มร้องไห้ และไม่มีการทำร้ายตัวเอง แต่จะมีเพีงภาวะอารมณ์ที่ไม่แจ่มใสซึ่งยากต่อการสังเกต หากปล่อยไว้นานเข้าอาจจะแย่ลงและเป็นอันตรายขึ้นในที่สุดได้ ซึ่งเอลเดอร์ก็มีวิธีสังเกตสัญญาณเตือนของภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุมาฝากครับ หากพบว่าตัวคุณเองหรือผู้สูงอายุในครอบครัวมีอาการดังต่อไปนี้ติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ ถือว่าเข้าข่ายกับโรคซึมเศร้า

1. พฤติกรรมการรับประทานผิดปกติ
สิ่งแรกที่จะแสดงออกทันทีที่ผู้สูงอายุเข้าข่ายภาวะโรคซึมเศร้าก็คือพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เปลี่ยนไป บางคนรับประทานอาหารได้น้อยลง แม้ว่าจะเป็นอาหารที่ชอบก็ยังรับประทานได้น้อยลงจนผิดปกติ หรือไม่ก็ตรข้ามกันไปเลยคือรับประทานมากเกินปกติ รับประทานมากขึ้นไม่หยุดปากหรอกินจุกจิกระหว่างวัน 

2. พฤติกรรมการนอนหลับผิดปกติ
นอกจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารแล้วพฤติกรรมการนอนก็บ่งบอกถึงภาวะโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน โดยผู้สูงอายุที่มีอาการซึมเศร้าจะมีปัญหากับการนอนไม่ง่วงซึมอยากนอนตลอดเวลาก็นอนหลับยากไปเลย บางรายมีอาการนอนไม่หลับ หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ ตลอดคืน และอาจจะมีการฝันร้ายติดต่อกันบ่อย ๆ ซึ่งปัญหาจากพฤติกรรมการนอนที่เปลี่ยนไปนี้คือสัญญาณของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

3. ทำกิจกรรมลดน้อยลง
ผู้สูงอายุที่เข้าข่ายอาการของโรคซึมเศร้าจะรู้สึกหมดแรง เหนื่อยง่าย และไม่อยากจะทำอะไรจนเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิต ทำให้ผู้สูงอายุบางรายดูเฉื่อยชาลงกว่าแต่ก่อน ความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ตนเองชอบหหรือเคยทำลดต่ำลง อะไรที่เคยชอบ เคยทำก็ไม่อยากจะทำ เช่น บางรายชอบการปลูกต้นไม้ทำสวนมากแต่อยู่ ๆ ก็ทำสวนน้อยลงหรือไม่แตะต้องงานทำสวนอีกเลย ถ้าครอบครัวไหนที่มีผู้สูงอายุเข้าข่ายลักษณะแบบนี้ตั้งข้อสงสัยได้เลยว่าอาจจะเข้าข่ายอาการโรคซึมเศร้า

4. เก็บตัวไม่สุงสิงกับใคร
นอกจากจะไม่ทำกิจกรรมที่ตนเองเคยชอบแล้วผู้สูงอายุที่มีอาการโรคซึมเศร้าก็มักกจะเก็บตัวไม่พูดไม่จากับใคร พูดคุยน้อยลงประมาณว่าถามคำตอบคำ การตอบสนองช้าลง ลูกหลานคุยด้วยก็ไม่สนใจ รู้สึกว่าเป็นภาระของลูกหลานที่ต้องมาใส่ใจตัวเอง อีกทั้งยังรู้สึกว่าตัวเองก้าวไม่ทันโลก ทำให้เกิดความรู้สึกหมดคุณค่าและความสำคัญ พูดคุยกับลูกหลานไม่รู้เรื่อง ถ้าใครหรือผู้สูงวัยในครอบครัวมีภาวะเก็บตัวพูดน้อยก็ถือว่าเข้าข่ายอาการซึมเศร้าเป็นอย่างมาก

5. อารมณ์และบุคลิกภาพเปลี่ยนไป
ผู้สูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีอารมณ์และบุคลิกภาพเปลี่ยนไป เช่น จากเป็นคนร่าเริงแจ่มใสก็หงุดหงิดจู้จี้ง่าย หงุดหงิดบ่อยขึ้น โกรธและโมโหง่าย บางรายอาจจะมีอาการขี้น้อยและอ่อนไหวใจง่ายแบบที่อยู่เฉย ๆ ก็มีน้ำตาไหล เหม่อลอยไม่มีสติอยู่กับตัวเอง บางรายอาจจะกลายเป็นคนวิตกกังวลง่าย

6. รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า
ผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้ามักจะบ่นกับตัวเองและลูกหลานว่าตนเองไร้ค่า ร่างกายไม่แข็งแรงเจ็บป่วยบ่อยต้องเป็นภาระให้แก่ลูกหลาน ทำให้เกิดการเบื่อหน่ายกับชีวิตและรู้สึกว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป ดังนั้นหากใครหรือผู้สูงวัยในครอบครัวมีความรู้สึกที่ว่านี้อย่าปล่อยผ่านเด็ดขาดเพราะอาจจะนำไปสู่การพยายามทำร้ายตัวเอง หรือใครที่มีโรคประจำตัวอยู่อาจไม่ยอมกินยาหรือปฏิเสธการรักษาจนอาจทำห้เกิดอัตรายกับชีวิตได้

วิธีการรับมือกับภาวะโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

1. ลูกหลานและคนในครอบครัวควรเอาใจใส่รับฟังมากขึ้นไม่ปล่อยให้โดดเดี่ยวอยู่คนเดียว โดยไม่ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าเป็นภาระในการดูแล
2. หากิจกรรมให้ผู้สูงอายุทำเพื่อเป็นการผ่อนคลาย ผู้สูงอายุจะรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งและไม่ตัดขาดลูกหลาน ที่สำคัญยังเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ครอบครัวด้วย
3. รับมือแก้ไขไปตามอาการที่พบ เช่น ถ้าเบื่ออาหารอาจจะปรับเปลี่ยนเมนูอาหารให้น่ารับประทานขึ้น หรือออกไปเปลี่ยนบรรยากาศรับประทานอาหารนอกบ้าน หรือในกรณีที่นอนไม่หลับอาจจะชวนทำกิจกรรมสวดมนต์ ฟังเพลง หรืออ่านหนังสือธรรมะก่อนนอน เป็นต้น
4. พาผู้สูงอายุออกไปพบปะเพื่อนฝูงหรือเข้าสังคมไม่ว่าจะเป้นการไปปฏิบัติธรรม ออกกำลังกาย ฯลฯ ก็จะทำให้ผู้สูงอายุกระชับกระเฉงและสุขภาพจิตดีขึ้นกว่าอยู่แต่ในบ้าน
5. ปรึกษาจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแผนการรักษาในรายที่อยู่ในภาวะโรคซึมเศร้าหนัก

ทั้งหมดนี้ก็เป็นสาระดี ๆ เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าที่เอลเดอร์นำมาฝากเป็นอย่างไรกันบ้างครับ หวังว่าทุกท่านคงจะเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุกันมากขึ้นนะครับเพื่อให้เราได้รับมือกับตัวเองและคนในครอบครัวให้ห่างไกลจากภาวะโรคซึมเศร้าและแฮปปี้กันอย่างถ้วนหน้ายังไงล่ะครับ

ที่มา
https://www.paolohospital.com/th-TH/phahol/Article/Details/บทความ-สุขภาพจิต/สังเกตได้อย่างไร-ผู้สูงอายุมีภาวะซึมเศร้า
https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/ซึมเศร้าในผู้สูงอายุ 
https://www.nakornthon.com/article/detail/ผู้สูงอายุกับภาวะซึมเศร้า
https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/ซึมเศร้าในผู้สูงอายุ 
https://www.chula.ac.th/cuinside/5149/

บทความอื่นๆ

ปัญหาท้องอืด เอลเดอร์เชื่อว่าหลายๆคนประสบปัญหาเหล่านี้อยู่เป็นประจำ ดังนั้นสูงวัยมาทำความเข้าใจถึงต้นเหตุของปัญหาท้องอืด และมาร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารกันครับ
ภาวะเลือดเป็นกรดในผู้สูงอายุ เอลเดอร์เชื่อว่าหลายท่านคงยังไม่ค่อยคุ้นหูเท่าไหร่ แต่โรคนี้เป็นโรคอันตรายใกล้ตัวอย่างมากที่ผู้สูงอายุไม่ควรละเลย
error: Content is protected !!
Scroll to Top