อาการไทรอยด์เป็นพิษ ในผู้สูงวัยมักจะไม่ค่อยแสดงอาการอย่างชัดเจนมากนัก เมื่อเทียบกับช่วงวัยอื่น ๆ จึงทำให้ผู้สูงวัยไม่ทราบในทันที มักพบในผู้หญิง มากกว่าผู้ชาย 5-10 เท่า มีตั้งแต่ไม่แสดงอาการใด ๆ ไปจนถึงระดับรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต เอลเดอร์จึงมีวิธีการสังเกตอาการตนเองง่าย ๆ และกลุ่มอาหาร ต้านไทรอยด์เป็นพิษมาฝากผู้สูงวัยทุกท่าน ในการดูแลและป้องกันตนเอง

ไทรอยด์เป็นพิษ คืออะไร ?

ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis) หรือ ภาวะไฮเปอร์ไทรอยด์ (Hyperthyroidism) หรือ ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป (Overactive thyroid) เกิดขึ้นเมื่อต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากกว่าปริมาณที่ร่างกายต้องการ

ต่อมไทรอยด์ คือ ต่อมที่อยู่บริเวณลำคอ ด้านหน้าลูกกระเดือก และติดกับหลอดลม ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนในการทำงานของร่างกาย เมื่อต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากไป ทำให้เกิดผลกระทบกับร่างกาย หรือเรียกว่า “ไทรอยด์เป็นพิษ” นั้นเองครับ

สาเหตุของไทรอยด์เป็นพิษ

สาเหตุของโรคไทรอยด์เป็นพิษ เกิดขึ้นจากการที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ จนทำให้ร่างกายมีปริมาณของฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าความต้องการของร่างกาย และมีสภาวะเป็นพิษ จนส่งผลต่อร่างกายในด้านต่าง ๆ โดยไทรอยด์เป็นพิษ เกิดจาก 3 สาเหตุหลัก ๆ ได้แก่

1. โรคเกรฟวส์ (Graves’ Disease) 

จะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนไทโรซีนออกมามากผิดปกติจนกลายเป็นพิษ ซึ่งยังคงไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าโรคเกรฟวส์นั้นเกิดจากอะไร พบเพียงแต่ว่าโรคดังกล่าวมักเกิดขึ้นในผู้หญิงในวัยรุ่นและวัยกลางคน อีกทั้งยังเป็นได้ว่าเป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยการสูบบุหรี่จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงโรคเกรฟวส์มากขึ้น

การรับประทานอาหาร การรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนมากเกินไปก็สามารถก่อให้เกิดโรคไทรอยด์เป็นพิษ เนื่องจากไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์

2. เนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์ 

เป็นกรณีที่พบได้น้อย เนื้องอกที่เกิดบริเวณไทรอยด์ และเนื้องอกที่เกิดบริเวณต่อมใต้สมอง อาจส่งผลให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนไทรอยด์มากขึ้นจนกลายเป็นพิษได้

3. การอักเสบของต่อมไทรอยด์ (Thyroiditis) 

การอักเสบที่ไม่ทราบสาเหตุของต่อมไทรอยด์สามารถส่งผลต่อการทำงานของของต่อมไทรอยด์ได้ โดยการอักเสบของต่อมไทรอยด์จะทำให้ฮอรโมนไทรอยด์ถูกผลิตออกมามากขึ้น และทำให้ฮอร์โมนรั่วไหลออกไปที่กระแสเลือด ทั้งนี้การอักเสบของต่อมไทรอยด์ส่วนใหญ่ไม่มีอาการเจ็บ ยกเว้นอาการไทรอยด์อักเสบแบบกึ่งเฉียบพลันที่เกิดขึ้นได้น้อย สามารถส่งผลให้เกิดอาการเจ็บได้

4. การได้รับการเสริมฮอร์โมนไทรอยด์ที่มากเกินไป 

ยาที่มีส่วนประกอบของไอโอดีนบางชนิด เช่น ยาอะไมโอดาโรน (Amiodarone) ที่ใช้ในการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะทำให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนไทรอยด์มากขึ้นจนกลายเป็นพิษ

10 อาการของไทรอยด์เป็นพิษ  

ผู้สูงวัยสามารุสังเกตอาการเหล่านี้ได้เบื้องต้นว่าเข้าข่ายหรือไม่ หากมี 10 อาการเหล่านี้ เอลเดอร์แนะนำให้ไปตรวจ หรือปรึกษาแพทย์ครับ รู้เร็สรักษาได้เร็ว และอาการไทรอยด์เป็นพิษอาจแตกต่างกันในแต่ละราย 
1. น้ำหนักตัวลด
2. ชีพจรเต้นเร็ว จังหวะไม่สม่ำเสมอ ใจสั่น
3. อารมณ์แปรปรวน กระวนกระวาย หงุดหงิดง่าย
4. อ่อนเพลีย
5. มีอาการสั่น โดยเฉพาะมือ
6. ขี้ร้อน เหงื่อออกง่าย
7. ถ่ายอุจจาระบ่อย หรือท้องเสีย
8. ต่อมไทรอยด์บริเวณลำคอบวม หรือโตขึ้น
9. มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ
10. กล้ามเนื้ออ่อนแรง

7 กลุ่มอาหาร ที่ช่วยป้องกันไทรอยด์เป็นพิษ

หลังจากทราบอาการกันไปในเบื้องต้น เอลเดอร์เชื่อว่าไม่มีผู้สูงวัยท่านไหนอยากเป็นโรคนี้ครับ ดังนั้นเราต้องรีบป้องกันตั้งแต่เนิ่น ๆ โรคไทรอยด์มีสาเหตุบางส่วนเกิดจากอาหารการกินที่ผู้สูงวัยกินเข้าไปในแต่ละมื้อ เอลเดอร์จึงมีเคล็ดลับดี ๆ ในการเลือกอาหารที่ช่วยป้องกันไทรอยด์เป็นพิษ ด้วยกลุ่มอาหารที่ช่วยบำรุง

1.ไอโอดีน เป็นสารอาหารสำคัญในระบบการทำงานของต่อมไทรอยด์ ที่จะช่วยให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนต่างๆ ได้เป็นปกติ เช่น  ปลา หอยกาบ กุ้ง หอยนางรม ไข่ กระเทียม ฯลฯ
2.วิตามีนบี เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อระบบการทำงานของต่อมไทรอยด์  เช่น ปลา นม เห็ด ไข่แดง เครื่องในสัตว์ ตับ ถั่ว อัลมอนด์ และธัญพืชต่างๆ
3.ธาตุซีลีเนียม ช่วยการทำงานของระบบไทรอยด์ เช่น ปลาทูน่า เห็ด เครื่องในสัตว์ ถั่วเหลือง ฯลฯ

4.สังกะสี ดีต่อระดับฮอร์โมนไทรอยด์ เพราะไทรอยด์มีสาเหตุจากการขาดสังกะสีจึงควรทานอาหารที่มีแร่สังกะสีให้มากขึ้น เช่น อาหารจำพวกเนื้อวัว เนื้อแกะ หอยนางรม ถั่วเหลือง ถั่ววอลนัท เมล็ดทานตะวัน และธัญพืช
5. ทองแดง ช่วยการทำงานของระบบไทรอยด์  เช่น ถั่วเหลือง เห็ดชิตาเกะ ข้าวบาร์เล มะเขือเทศ และดาร์กช็อกโกแลต

6. สารต้านอนุมูลอิสระ อย่างวิตามินเอ วิตามินอี และวิตามินซี จะช่วยให้ต่อมไทรอยด์ต่อสู้กับการถูกทำลายจากสารอนุมูลอิสระได้ และป้องกันการเสื่อมสภาพของต่อมไทรอยด์ เช่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี องุ่น หน่อไม้ฝรั่ง ชาเขียว ผักกาดหอม ถั่วเปลือกแข็ง และธัญพืชชนิดต่าง ๆ
7.ธาตุเหล็ก  ร่างกายขาดธาตุเหล็กจะทำให้ความสามารถในการทำงานของต่อมไทรอยด์ลดลง จึงควรทานอาหารที่มีธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ เช่น เครื่องในสัตว์ ตับ เลือด ผักโขม แครอท ฟักทอง ถั่วเหลือง ถั่วขาว รวมถึงเมล็ดฟักทองด้วย

นอกจากการเลือกทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ในการช่วยป้องกันไทรอยด์เป็นพิษแล้ว ผู้สูงวัยอย่าลืมหมั่นสังเกตอาการตนเองในเบื้องต้นนะครับ หากมีอาการตรงตามข้อสงสัยดังกล่าวควรพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คร่างกาย

ข้อมูลอ้างอิง
1.
2.
3
4

บทความอื่นๆ

ปัญหาท้องอืด เอลเดอร์เชื่อว่าหลายๆคนประสบปัญหาเหล่านี้อยู่เป็นประจำ ดังนั้นสูงวัยมาทำความเข้าใจถึงต้นเหตุของปัญหาท้องอืด และมาร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารกันครับ
ภาวะเลือดเป็นกรดในผู้สูงอายุ เอลเดอร์เชื่อว่าหลายท่านคงยังไม่ค่อยคุ้นหูเท่าไหร่ แต่โรคนี้เป็นโรคอันตรายใกล้ตัวอย่างมากที่ผู้สูงอายุไม่ควรละเลย
error: Content is protected !!
Scroll to Top