โรคไหลตาย หรือที่บางคนเรียกว่า “ผีแม่หม้ายมานำตัวไป” แท้จริงแล้วการเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือการนอนหลับเสียชีวิตไปอย่างสงบ ถือว่าเป็นภาวะชนิดหนึ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับผู้สูงวัย หรือผู้ที่มีอายุประมาณ 30-50 ปี โรคไหลตายเป็นโรคที่มักไม่มีแสดงอาการให้ได้รับรู้ เรียกได้ว่าเป็นการจากไปที่ไม่มีสัญญาณเตือน เอลเดอร์เชื่อว่าผู้สูงวัยหลายคนกำลังรู้สึกวิตกกังวลกับโรคนี้ วันนี้จึงมีวิธีการเตรียมพร้อมรับมือมาฝากสูงวัยทุกท่าน 

โรคไหลตาย คืออะไร ?

ก่อนอื่นเราจะต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่าโรคไหลตายคืออะไร มีภาวะเสียงที่เกิดขึ้นได้อย่างไร  โรคไหลตาย หรือ ภาวะเสียชีวิตฉับพลันโดยไม่ทราบสาเหตุขณะหลับ (SUDS : sudden unexpected death syndrome) เกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในหัวใจ ทำให้เกิดภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะ โรคไหลตาย มีความสัมพันธ์กับกลุ่มโรคทางพันธุกรรมชนิดต่าง ๆ เช่น กลุ่มอาการบรูกาดา (Brugada Syndrome), Long QT syndrome 

สาเหตุการไหลตาย คือ กระแสไฟฟ้าลัดวงจรในหัวใจ ซึ่งเกิดจากการมีพังผืดบริเวณผิวของหัวใจห้องล่างด้านขวาทำให้การเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ จนทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นระริก สาเหตุของพังผืดนี้เชื่อว่าเกิดจากพันธุกรรม ในประเทศไทย พบว่าส่วนใหญ่ที่มีอาการนี้คือเพศชายที่อาศัยอยู่ในภาคอีสาน อายุประมาณ 25-50 ปี จึงทำให้ชาวบ้านเชื่อว่าผีแม่หม้ายมานำตัวไป เพราะมักจะมีการนอนหลับเสียชีวิตไปอย่างสงบ ซึ่งสามารถพบได้ทั้งกับคนที่มีโรคประจำตัว และไม่มีโรคประจำตัว  

อาการของโรคไหลตายมักเกิดในเวลากลางคืน 

ผู้ป่วยโรคไหลตายมักจะเสียชีวิตฉับพลันขณะหลับในเวลากลางคืน โดยไม่สาเหตุ หรือไม่ทันได้สังเกตอาการผิดปกติของตนเอง วิธีการป้องกันเบื้องต้นหากผู้ป่วยหรือญาติพบเห็นอาการผิดปกติดังต่อไปนี้สามารถรีบนำไปพบแพทย์โดยด่วนที่สุด  

  • อึดอัด หายใจลำบาก หายใจเสียงดัง
  • แน่นหน้าอก ใจสั่น
  • ริมฝีปากเขียวคล้ำ
  • อาจมีปัสสาวะและอุจจาระราด
  • อาการชักเกร็งหายใจติดขัดขณะนอนหลับ

เตรียมพร้อมรับมือ “โรคไหลตาย”

1. หมั่นสังเกตอาการผิดปกติ โดยเฉพาะช่วงกลางคืน เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจรู้สึกใจสั่น หายใจไม่อิ่ม อาการชักเกร็งหายใจติดขัดขณะนอนหลับ หากพบอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์ทันที 

2. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หากมีสมาชิกครอบครัวเสียชีวิตจากการไหลตาย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจคลื่นหัวใจ เพื่อดูลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการใส่สายสวนผ่านทางเส้นเลือดดำบริเวณขาหนีบเข้าไปที่หัวใจ แล้วใช้สัญญาณไฟฟ้าวิเคราะห์ลักษณะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ

การรักษาโรคไหลตาย

1. การผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า (Implantable Cardioverter Defibrillator: ICD) โดยฝังเครื่องไว้บริเวณหน้าอกด้านซ้าย เมื่อมีหัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดขึ้นเครื่องจะส่งกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นให้หัวใจกลับมาเต้นเป็นปกติ
2. การจี้หัวใจด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง (Radiofrequency Ablation: RFA) โดยการใส่สายสวนหัวใจเข้าไปแล้วใช้ความร้อนจี้ตรงที่มีปัญหาเพื่อลดโอกาสการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ
3. การใช้ยา อาจใช้เป็นการรักษาเสริมหลังผู้ป่วยผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจแล้ว

การรู้รับมือของ “โรคไหลตาย” ได้ดีที่สุด คือการหมั่นสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผู้สูงวัย การตรวจสุขภาพประจำปีเอลเดอร์ว่าก็มีผลต่อการดูแลตัวเองเช่นเดียวกัน หากพบอาการผิดปกติ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งเป็นวิธีการป้องกันในทางการแพทย์

ข้อมูลอ้างอิง



บทความอื่นๆ

ปัญหาท้องอืด เอลเดอร์เชื่อว่าหลายๆคนประสบปัญหาเหล่านี้อยู่เป็นประจำ ดังนั้นสูงวัยมาทำความเข้าใจถึงต้นเหตุของปัญหาท้องอืด และมาร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารกันครับ
ภาวะเลือดเป็นกรดในผู้สูงอายุ เอลเดอร์เชื่อว่าหลายท่านคงยังไม่ค่อยคุ้นหูเท่าไหร่ แต่โรคนี้เป็นโรคอันตรายใกล้ตัวอย่างมากที่ผู้สูงอายุไม่ควรละเลย
error: Content is protected !!
Scroll to Top