ด้วยอายุที่มากขึ้นและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปอาจส่งผลให้เราทานอาหารได้น้อยลงและกระบวนการดูดซึมสารอาหารของร่างกายที่เสื่อมสภาพ ทำให้ไม่ได้รับสารอาหารครบถ้วนที่ร่างกายต้องการ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายเจ็บป่วย หรือขาดสารอาหารที่จำเป็น หลายคนจึงเลือกที่จะหาซื้ออาหารเสริมมาทานควบคู่กับอาหารหลัก แต่ต้องอย่าลืมนะครับว่าอาหารเสริมจะมาสามารถมาทดแทนอาหารหลักได้ ดังนั้นเราจึงควรทานอาหารในแต่ละมื้ออยู่เสมอ และในการเลือกทานอาหารเสริมควรเริ่มจากเลือกทานในส่วนที่เราขาดสารอาหารนั้นจริงๆ ไม่ควรทานในปริมาณที่เกินความต้องการของร่างกาย เพราะถ้าทานในปริมาณที่มาก หรือติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ก็มีโอกาสที่จะเกิดการตกค้างในร่างกายได้ แทนที่จะส่งผลดีกลับส่งผลร้ายต่อร่างกายแทน

อาหารเสริม  คือ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานนอกเหนือจากอาหารหลัก เพื่อเสริมสารอาหารบางชนิดให้กับร่างกาย มีหลายรูปแบบ ทั้งชนิดเม็ด แคปซูล ผง มีจุดประสงค์ในการใช้เพื่อเสริมสร้างสารอาหารจำเป็น โดยอาหารเสริมเหมาะกับผู้ที่มีสุขภาพปกติ ไม่มีโรคประจำตัว ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ ไม่สามารถงดอาหารมื้อหลักและทดแทนด้วยอาหารเสริมได้

ผลิตภัณฑ์ในอาหารเสริมในท้องตลาดมักโฆษณาสรรพคุณเกิดจริง เช่น ทานแล้วริ้วรอยหายไป ทานแล้วข้อเข่ากลับมาแข็งแรงไร้อาการเจ็บป่วย ทานแล้วน้ำหนักลดลงเห็นผลใน 3 วัน ฯลฯ รวมถึงยังโฆษณาถึงปริมาณที่สูง เกินกว่าร่างกายสามารถดูดซึมได้ เช่น

วิตามินซี : ร่างกายสามารถดูดซึมวิตามินซีได้ 1,000 มิลลิกรัม/วัน (แบ่งทางครั้งละ 500 มิลลิกรัม) ปริมาณที่เกินจะถูกขับออก

คอลลาเจน : ร่างกายสามารถดูดซึมได้สูงสุด 5,000 มิลลิกรัม/วัน ปริมาณที่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมได้จะถูกขับออก

แคลเซียม : ร่างกายสามารถดูดซึมได้สูงสุดที่ 1,500 มิลลิกรัม/วัน และยังขึ้นอยู่กับชนิดของแคลเซียมนั้นๆอีกด้วย

การทานอาหารเสริมโดยขาดความรู้จะส่งผลต่อร่างกายดังนี้

1.  โรคกำเริบ การกินอาหารเสริมโดยขาดความรู้ อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะกับผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่ เนื่องจากอาหารเสริมบางชนิดไม่ถูกกับโรคบางโรค เช่น
– โสม ไม่เหมาะกับคนที่เป็นความดันโลหิตสูง เพราะทำให้เส้นเลือดบีบตัวแรงขึ้น
– น้ำมันปลา ไม่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น หรือ
– อาหารเสริมแบบชงละลายน้ำในปริมาณมากและอาหารโซเดียมสูง ไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคหัวใจ เพราะทำให้ประสิทธิภาพของหัวใจด้านขวาทำงานด้อยลง จนเกิดอาการขาบวมได้

2.  เกิดการสะสมในร่างกาย การกินอาหารเสริมเพื่อบำรุงร่างกายเป็นเวลานาน อาจมีความเสี่ยงที่อาหารเสริมเหล่านั้นเข้าไปสะสมในร่างกาย จนเกิดเป็นอันตรายได้ เช่น
– อาหารเสริมช่วยผิวขาว ในระยะยาวอาจส่งผลต่อตับ ซ้ำร้ายทำให้เส้นเลือดไม่แข็งตัว และเลือดออกตามผิวหนังได้ด้วย
– วิตามินซี อาจทำให้เกิดนิ่วในไตได้ เนื่องจากมีการขับวิตามินซีออกทางปัสสาวะในรูปออกซาเลตและกรดยูริกมากกว่าปกติ

3. การสะสมของสารพิษและสารเคมีในร่างกาย หากเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ไม่ได้มาตรฐาน ก็อาจส่งผลให้มีสารปนเปื้อน และสารเคมีอันตรายต่างๆได้ นอกจากจะไม่ได้ผลลัพธ์ หรือ ประโยชน์แล้ว ยังอันตรายต่อตับและไตด้วย

หากสูงวัยต้องการทานอาหารเสริม ควรทำอย่างไรบ้าง?
  • ควรเลือกอาหารเสริมที่มีมาตรฐาน รับรองความปลอดภัย และน่าเชื่อถือ
  • ตรวจร่างกายและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจปริมาณวิตามิน แร่ธาตุต่างๆที่ร่างกายต้องการ ป้องกันการทานวิตามินอย่างไม่จำเป็นแบบ มากเกินปริมาณที่จำเป็น และ ทราบปริมาณและวิธีการรับประทานอาหารเสริมแต่ละชนิดอย่างเหมาะสม
  • เลือกกินวิตามินในกลุ่มที่ละลายน้ำได้ดี เช่น วิตามินซี วิตามินบี หรือโฟเลต เพราะร่างกายจะสามารถดูดซึมไปใช้ได้ง่าย ไม่สะสมตกค้าง ไม่ทำให้ตับหรือไตต้องทำงานหนักมากเกินไป
ข้อปฏิบัติเพื่อการมีสุขภาพแข็งแรง โดยไม่พึ่งอาหารเสริม

หากร่างกายแข็งแรง ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทานอาหารเสริม ให้เหนื่อยตัง หรือ ไตพัง ให้เน้นวิธีธรรมชาติ พอเหมาะพอดี เท่านี้ก็ช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงได้แล้ว
1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนปริมาณอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
2. หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หวาน มัน เค็ม เพราะส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว งดเว้นการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง
3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและเหมาะสม ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตต่อโรคต่างๆ
4.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้หลั่งโกรทฮอร์โมนเพื่อซ่อมแซมร่างกายได้อย่างเต็มที่ ส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิกัน

ไม่จำเป็นต้องพึ่งอาหารเสริมก็สุขภาพร่างกายแข็งแรงได้ การทานอาหารหลักโดยตรงจะช่วยให้เราได้รับสารอาหารดีๆหลากหลายชนิด ได้รับใยอาหาร โปรตีนแท้ๆ ได้รับสารเคมีที่ลดน้อยลง ส่งเสริมระบบการทำงานของร่างกายให้เป็นไปอย่างปกติ

 เอกสารอ้างอิง
1.  หมอรามาฯ แนะ อาหารเสริม กินมากๆ ตกค้างในร่างกายได้
2.  วิตามินซี กินอย่างไรให้ได้ผลดีที่สุด
3.  แนะกินแคลเซียมให้พอดี
4.  “อาหารเสริม” จำเป็นหรือไม่?
5. 

บทความอื่นๆ

ปัญหาท้องอืด เอลเดอร์เชื่อว่าหลายๆคนประสบปัญหาเหล่านี้อยู่เป็นประจำ ดังนั้นสูงวัยมาทำความเข้าใจถึงต้นเหตุของปัญหาท้องอืด และมาร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารกันครับ
ภาวะเลือดเป็นกรดในผู้สูงอายุ เอลเดอร์เชื่อว่าหลายท่านคงยังไม่ค่อยคุ้นหูเท่าไหร่ แต่โรคนี้เป็นโรคอันตรายใกล้ตัวอย่างมากที่ผู้สูงอายุไม่ควรละเลย
error: Content is protected !!
Scroll to Top