ปัจจุบันโรคเบาหวานและโรคอ้วนกำลังเพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ผู้คนเริ่มตระหนักถึงสุขภาพและความหวานที่มาแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว เอะอะปรุง ถ้าไม่หวาน ทานไม่ลง แต่การที่น้ำตาลเพิ่มขึ้นไม่ได้หมายความว่าคุณค่าทางโภชนาการจะเพิ่มตามไปด้วยนะครับ เนื่องจากแนวโน้มทางภาคอุตสาหกรรมอาหารเริ่มหารือที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ทดแทนที่สมบูรณ์แบบเพื่อทดแทนน้ำตาลโดยมีรสชาติเหมือนกันและไม่มีแคลอรี่ใด ๆ ที่จะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น นั่นก็ทำให้ผู้ที่เป็นเบาหวานเกิดคำถามขึ้นในใจ ว่าสารให้ความหวานใช้ทดแทนน้ำตาลได้ดีจริง ๆ หรือ และมันดีต่อร่างกายจริงหรือไม่ แน่นอนว่าคำตอบคือ ไม่ครับ เอลเดอร์จะพาไปค้นหาคำตอบนั้นกันครับ

สารให้ความหวานหรือสารทดแทนน้ำตาล เดี๋ยวนี้ออกมามากมายหลายชนิดเลยครับ แต่ในบทความนี้เราจะยกสารหลัก ๆ ที่สำคัญมาก มีดังนี้

น้ำตาลแอลกอฮอล์ (Sugar Alcohol)

สารทดแทนน้ำตาลแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ น้ำตาลแอลกอฮอล์และสารให้ความหวานที่มีความเข้มข้นสูง โดยน้ำตาลแอลกอฮอล์ ได้แก่ ซอร์บิทอล, ไซลิทอล, แลคทิทอล, แมนนิทอล, อิริทริทอลและมอลทิทอล สารให้ความหวานที่มีความเข้มข้นสูง ได้แก่ ขัณฑสกร, แอสปาร์แตม, อะเซซัลเฟมโพแทสเซียม (Ace-K), ซูคราโลส, นีโอเทม, หญ้าหวานและสารสกัดจากผลไม้ Siraitia grosvenorii Swingle (SGFE) โดยมากน้ำตาลแอลกอฮอล์ เรามักพบในยาสีฟัน หมากฝรั่งและอาหารบางชนิดที่ “ปราศจากน้ำตาล” เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายกับน้ำตาล แต่ยังเป็นส่วนประกอบที่ทำให้เป็นแอลกอฮอล์ด้วย ซึ่งจะมีความหวานมากกว่าน้ำตาลประมาณ 25-100% และมีรสชาติใกล้เคียงกัน แต่ที่สังเกตได้คือ สารเหล่านี้ไม่มีแคลอรี่ หรืออาจจะมีเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่มีระหว่าง 1.5 ถึงสองแคลอรี่ต่อกรัม ตอนนี้ถ้าเปรียบเทียบการนับแคลอรี่กับน้ำตาลหรือที่เรียกว่าซูโครส จะพบว่ามีแคลอรี่ 4 แคลอรี่ต่อกรัม นั่นคือมากกว่าสองเท่า

แม้ว่าน้ำตาลแอลกอฮอล์จะมีแคลอรี่น้อยกว่า แต่ก็ยังสามารถเพิ่มน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะเมื่อทานมากเกินไป และหากเทียบกับน้ำตาล ผลที่ได้จะน้อยกว่ามาก นั่นเป็นเพราะโมเลกุลเหล่านี้ถูกวัดค่านี้โดยใช้การวัดที่เรียกว่า “ดัชนีน้ำตาล”

ดัชนีน้ำตาลคืออะไร

ดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index หรือ GI) เป็นข้อมูลอ้างอิงว่าอาหารจะถูกย่อยสลายและดูดซึมได้เร็วเพียงใด ถ้ายิ่งมีค่าดัชนีที่มาก อาหารก็จะแตกตัวได้เร็วขึ้นและน้ำตาลจะเข้าสู่เลือดได้เร็วขึ้น ซึ่งในซูโครสมีดัชนีน้ำตาลในเลือดถึง 65 ถือว่าเป็น GI ระดับกลาง ในขณะที่น้ำตาลแอลกอฮอล์ เช่น ไซลิทอลมีดัชนีน้ำตาลอยู่ที่ประมาณ 7 ซึ่งหมายความว่าน้ำตาลแอลกอฮอล์ย่อยยากและน้ำตาลในเลือดก็เพิ่มขึ้นช้าลงและลดลงได้อีกด้วย โดยทั่วไปแล้ว ประเด็นเรื่องการย่อยยากมันจะส่งผลดีสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากน้ำตาลแอลกอฮอล์ย่อยยากกว่าทำให้การดูดซึมเข้าสู่ร่างกายช้าลง แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ยังคงอยู่ในลำไส้ และถ้าหากเรากินมากเกินไปอาจก่อให้เกิดปัญหาทางเดินอาหาร เช่น มีแก๊ส ตะคริวและท้องร่วง นอกจากนี้ น้ำตาลแอลกอฮอล์ยังมีข้อเสียอื่น ๆ อีก เช่น มีไขมันหรือเกลือในปริมาณที่สูงกว่าเพื่อชดเชยปริมาณน้ำตาลที่ลดลง

สารให้ความหวานเทียม (Artificial sweeteners)

สารให้ความหวานที่มีความเข้มข้นสูงก็เป็นอีกชนิดหนึ่งที่มีแคลอรีต่ำ สามารถใช้ทดแทนน้ำตาลได้ โดยมากจะทำมาจากแหล่งต่าง ๆ ซึ่งมีความหวานมากกว่าน้ำตาล 100 ถึง 20,000 เท่า บางอย่างจะทิ้งรสขมเอาไว้ ในปัจจุบันนี้ สารทดแทนที่มาใหม่ มีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ หญ้าหวานและ SGFE (สารสกัดจากผลไม้) ที่ได้จากพืชและบางครั้ง เราก็เรียกมันว่า สารทดแทน “จากธรรมชาติ”
หากอ้างอิงตามแนวทางของ American Diabetes Association 2019 การใช้สารให้ความหวานที่มีความเข้มข้นสูง เราอาจจะต้องลดปริมาณแคลอรี่และคาร์โบไฮเดรตลงด้วยครับ แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ไม่สามารถแทนที่สารให้ความหวานที่ไม่มีแคลอรี่เหล่านี้ด้วยแคลอรี่จากแหล่งอาหารอื่น ๆ เพราะเราจะเสียคุณประโยชน์ในการควบคุมน้ำตาลในเลือดและการลดน้ำหนักไปนั่นเอง

อาหารที่ซื้อกลับบ้าน

สารทดแทนน้ำตาลทั้งหมดถูกระบุว่าเป็นวัตถุเจือปนอาหารและอยู่ภายใต้การควบคุมของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา โดยแนวโน้มล่าสุดมีการระบุสารทดแทนน้ำตาลบางชนิดว่า “ได้มาจากพืช” หรือ“ จากธรรมชาติ” นั่นไม่ได้หมายความว่าสิ่งเหล่านี้จะปลอดภัยหรือมีประสิทธิภาพมากกว่าในการควบคุมน้ำตาลในเลือดหรือการลดน้ำหนักนะครับ เพราะหากใช้เกินขนาด ก็จะเกิดผลข้างเคียงตามมาได้เหมือนกัน เช่น ท้องอืดหรือท้องร่วง แต่ก็มีงานวิจัยหลายตัวที่สร้างความวิตกกังวลไม่น้อยเลยครับ เกี่ยวกับสารให้ความหวานที่มีความเข้มข้นสูงเช่น ขัณฑสกร ที่อยู่ในอาหารจำพวกซื้อกลับบ้านอย่างพวก Fast Food ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดโรคมะเร็งในระยะยาว แต่จนถึงปัจจุบันสถาบันมะเร็งแห่งชาติได้สรุปว่าไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าสารให้ความหวานที่มีความเข้มข้นสูงใด ๆ เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของมะเร็ง

ข้อแนะนำเกี่ยวกับวิธีควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและโรคเบาหวาน

หากใครที่ลองมาแล้วหลายวิธีที่จะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แต่ยังไม่พบแนวทางที่ดีนัก เอลเดอร์ขอแนะนำ 3 วิธีควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและโรคเบาหวานเพื่อเป็นทางเลือกให้กับทุกคนนะครับ
1. การใช้ยา
2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต
3. การทานอาหาร

หากเรายังคงทานอาหารในแบบเดิม ๆ โดยปราศจากการควบคุมและทานอย่างถูกวิธี รวมถึงยังไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต นั่นก็ยากที่จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ครับ และส่งผลให้ต้องทานยาที่มากกว่าเดิมด้วย และอาจก่อให้เกิดผลเสียในระยะยาว ดังนั้น หากใครต้องการจะควบคุมน้ำตาลและเบาหวานให้อยู่หมัด เอลเดอร์แนะนำให้ปรับเปลี่ยนอาหาร เช่น เปลี่ยนไปดื่มเครื่องดื่มที่สารทดแทนน้ำตาล แต่ควรดื่มในปริมาณน้อย ๆ และ “ไม่” บ่อยครั้ง เนื่องจาก การดื่มเครื่องดื่มที่สารทดแทนน้ำตาลต่อเนื่องเป็นประจำจะส่งผลให้เกิดภาวะดื้ออินซูลินมากขึ้น (Insulin Resistance) โดยเฉพาะผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เพราะความอ้วนเป็นตัวเร่งการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน นำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือดในที่สุด รู้อย่างนี้แล้ว สำหรับใครที่ติดหวาน เอลเดอร์แนะนำว่าควรลดการทานน้ำตาลหรือสารทดแทนน้ำตาลลงจะดีกว่านะครับ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เท่านี้เราก็จะสามารถควบคุมเบาหวานได้แล้วล่ะครับ


ข้อมูลอ้างอิง
– – Jamie Pitlick. Sugar Substitute for diabetic patient. Drake University.2019. July 1.
– –

บทความอื่นๆ

ปัญหาท้องอืด เอลเดอร์เชื่อว่าหลายๆคนประสบปัญหาเหล่านี้อยู่เป็นประจำ ดังนั้นสูงวัยมาทำความเข้าใจถึงต้นเหตุของปัญหาท้องอืด และมาร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารกันครับ
ภาวะเลือดเป็นกรดในผู้สูงอายุ เอลเดอร์เชื่อว่าหลายท่านคงยังไม่ค่อยคุ้นหูเท่าไหร่ แต่โรคนี้เป็นโรคอันตรายใกล้ตัวอย่างมากที่ผู้สูงอายุไม่ควรละเลย
error: Content is protected !!
Scroll to Top